วิกิลีกส์: รายงานลับของสถานทูต เปิดโปงบทบาทของสหรัฐฯในการรัฐประหาร 2549
Wed, 2010-12-22 09:00
รายงานลับทางการทูตที่รั่วไหลออกมาผ่านทางวิกิลีกส์เปิดโปงให้รู้ว่า สหรัฐอเมริกาเห็นชอบกับการรัฐประหารของกองทัพ ซึ่งโค่นล้มรัฐบาลนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ถึงแม้หน้าฉากที่แสดงออกต่อสาธารณะนั้น สหรัฐฯ จะทำเหมือนวางระยะห่างจากการยึดอำนาจก็ตาม รายงานลับทางการทูตเผยให้เห็นพฤติกรรมต่อต้านประชาธิปไตยของสหรัฐฯ และประเทศมหาอำนาจอื่น ๆ ที่ซ่อนอยู่ในการดำเนินการทางการทูตแบบเร้นลับหลังฉาก
เอกสารเหล่านี้ชี้ให้เห็นด้วยว่า x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x โดยมีการปรึกษาหารือกันว่าจะจัดการอย่างไรกับฝ่ายที่สนับสนุนรัฐบาลทักษิณ
x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x รัฐบาลที่มีกองทัพหนุนหลังของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ พยายามสกัดกั้นการเผยแพร่ของข้อมูล เมื่อวานนี้ บทความบทหนึ่งบนเว็บไซท์ของ บางกอกโพสต์ ถูกถอดออกหลังจากนำขึ้นเผยแพร่ได้ไม่กี่ชั่วโมง รายงานลับทางการทูตทำลายความเชื่อที่มีมานมนานว่า x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x
รายงานลับทางการทูตจากสถานทูตสหรัฐฯ ในกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2549 บันทึกการสนทนาระหว่างนายราล์ฟ แอล. บอยซ์ กับพลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารบก ซึ่งเป็นหัวหน้าคณะรัฐประหาร ทั้งสองพบกัน “เป็นการส่วนตัว” หลังจากกองทหารและรถถังเพิ่งเคลื่อนเข้ายึดเมืองหลวงและล้มรัฐบาลทักษิณในบ่ายวันที่ 19 กันยายน
บอยซ์ถามว่า นอกจากผู้นำคณะรัฐประหารแล้ว มีใครอีกบ้างที่เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช “เมื่อคืนนี้” สนธิตอบว่า พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี เป็นผู้นำตนและนายทหารคนอื่น ๆ เข้าไปในพระราชวัง ในรายงานทางการทูตของบอยซ์ระบุว่า พลเอกสนธิได้กล่าวว่า “x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x เขาไม่ได้ให้รายละเอียดนอกเหนือจากนี้” x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x
ความแตกแยกอย่างลึกซึ้งเกิดขึ้นในหมู่ชนชั้นปกครองไทย กลุ่มธุรกิจและการเมืองดั้งเดิมที่รวมศูนย์อยู่รอบสถาบันกษัตริย์ กองทัพและกลไกรัฐ ต่างหันมาเป็นปฏิปักษ์ต่อทักษิณ นายกรัฐมนตรีทักษิณ ซึ่งเป็นผู้ทรงอิทธิพลทางธุรกิจระดับพันล้าน ไม่ได้ปฏิบัติตามคำมั่นสัญญาก่อนหน้านี้ที่ว่า จะปกป้องธุรกิจไทยจากมาตรการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นเงื่อนไขของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ภายหลังวิกฤตเศรษฐกิจในเอเชีย พ.ศ. 2540-2541
กลุ่มธุรกิจที่เกิดความสั่นคลอนจากนโยบายของทักษิณ ได้ร่วมกันก่อตั้งกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยขึ้นเพื่อโค่นล้มรัฐบาล กลุ่มพันธมิตรฯ แสร้งวางตัวเป็นเสียงคัดค้านการปกครองแบบรวมศูนย์อำนาจของทักษิณ โดยจัดระดมมวลชน “เสื้อเหลือง” ประท้วงในกรุงเทพฯ เพื่อช่วยสร้างเงื่อนไขให้กองทัพเข้ามารัฐประหาร
รายงานลับที่รั่วไหลออกมาชี้ให้เห็นว่า รัฐบาลบุชทราบล่วงหน้าเกี่ยวกับการรัฐประหารมาตั้งแต่ช่วงเตรียมการและให้ความเห็นชอบเป็นนัยๆ ส่วนการแสดงออกต่อสาธารณะที่รัฐบาลสหรัฐฯ แสดง “ความกังวล” นั้น เป็นเรื่องที่มีการตกลงกับผู้นำรัฐประหารล่วงหน้าก่อน
บอยซ์เขียนว่า “เมื่อกล่าวถึงปฏิกิริยาของสหรัฐฯ ผมเตือนเขา [สนธิ] ถึงการสนทนาของเราเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม เมื่อผมบอกเขาว่า ปฏิบัติการทางทหารใด ๆ ย่อมส่งผลให้มีการระงับโครงการความช่วยเหลือในทันที.....ผมบอกเขาว่า เขาต้องคาดหมายไว้ว่าเราจะประกาศมาตรการแบบนั้นออกมาโดยเร็ว เขาก็เข้าใจดี” บอยซ์เขียนต่อไปว่า “ผมเสริมต่อว่า การฟื้นฟูความช่วยเหลือต่าง ๆ จะเกิดขึ้นหลังจากรัฐบาลที่ได้รับเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยเข้ามาดำรงตำแหน่ง”
ก่อนเข้าพบทูตสหรัฐฯ พลเอกสนธิได้ประกาศแล้วว่าจะมีการร่างรัฐธรรมนูญชั่วคราวและแต่งตั้งรัฐบาลพลเรือนภายในสองสัปดาห์ แน่นอน รัฐบาล “พลเรือน” ที่วางไว้ ไม่ได้เป็นอะไรมากกว่าฉากบังหน้าให้กองทัพ กระนั้นก็ตาม บอยซ์แสดงความคิดเห็นในเชิงชมเชยว่า นี่คือ “ตัวอย่างที่ดี”
ทำเนียบขาวของรัฐบาลบุชระงับความช่วยเหลือทางการทหารและการซ้อมรบร่วมกับประเทศไทยเพื่อแสดง “ความกังวล” แต่ไม่นานก็รื้อฟื้นความสัมพันธ์ตามปรกติกับกองทัพไทย รัฐบาลทหารจัดการเลือกตั้งในปลาย พ.ศ. 2550 ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่ไม่มีความเป็นประชาธิปไตย พรรคพลังประชาชนที่สนับสนุนทักษิณก่อตั้งขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 ถึงแม้วอชิงตันจะชื่นชมผลการเลือกตั้งว่าเป็น “การกลับไปสู่ประชาธิปไตย” แต่รัฐบาลที่มาจากพรรคพลังประชาชนย่อมไม่ใช่ผลลัพธ์ที่สหรัฐฯ มุ่งหวัง
เมื่อไม่สามารถสกัดกั้นการกลับมาของรัฐบาลที่สนับสนุนทักษิณ สถาบันอำนาจเก่าจึงร่วมมือกันรณรงค์เพื่อโค่นล้มรัฐบาล การประท้วงของพันธมิตรฯ กลับมาอย่างรวดเร็ว ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2551 ศาลรัฐธรรมนูญของประเทศไทยก็ลงมติถอดถอนนายกรัฐมนตรีสมัคร สุนทรเวช ด้วยข้ออ้างขี้ปะติ๋วว่า เขาละเมิดกฎหมายด้วยการออกรายการทำอาหารทางทีวี
จากรายงานทางการทูตที่รั่วไหลออกมาอีกฉบับหนึ่ง นายสมัครกล่าวแก่เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ นายเอริก จอห์น ในเดือนตุลาคม พ.ศ.2551 ว่า x x x x x x x x “มีส่วนรู้เห็นกับการรัฐประหาร 2549 รวมทั้งความปั่นป่วนวุ่นวายที่เกิดจากการประท้วงของพันธมิตรฯ ด้วย” ในตอนนั้น พันธมิตรฯ ยังดำเนินการประท้วงด้วยการยึดทำเนียบรัฐบาล เพื่อบีบให้นายกรัฐมนตรีสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ลงจากตำแหน่ง แต่สหรัฐฯ ไม่ได้แสดงความคิดเห็นใด ๆ ต่อสาธารณะในเรื่องนี้
บันทึกความจำของสหรัฐฯ อีกฉบับหนึ่ง ลงวันที่ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2551 ยืนยันว่า x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x นี่เป็นอีกครั้งที่สหรัฐอเมริกาไม่แสดงท่าทีคัดค้านใด ๆ เลย ทั้ง ๆ ที่มีข้อมูลวงใน
อีกเพียงหนึ่งเดือนต่อมา ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551 การที่กลุ่มพันธมิตรฯ ยึดสนามบินสองแห่งในกรุงเทพฯ ช่วยสร้างเงื่อนไขความปั่นป่วนวุ่นวาย พร้อม ๆ กับศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรคพลังประชาชนด้วยข้อหาที่ปั้นแต่งขึ้นมาว่าโกงการเลือกตั้ง จากนั้นกองทัพก็เกลี้ยกล่อมพรรคร่วมรัฐบาลและพรรคฝ่ายค้านอื่น ๆ ให้จับมือกับพรรคประชาธิปัตย์ของอภิสิทธิ์และก่อตั้งรัฐบาลใหม่ขึ้นมา
รายงานทางการทูตยืนยันเรื่องที่เห็นกันชัด ๆ อยู่แล้ว กล่าวคือ การที่สหรัฐฯ มีปฏิกิริยาผ่อนปรนต่อการรัฐประหาร 2549 เป็นการเดินตามแนวทางที่ชี้นำจากผลประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจและยุทธศาสตร์ของสหรัฐฯ เอง สหรัฐฯ มีสายสัมพันธ์ยาวนานกับกองทัพไทย ย้อนกลับไปตั้งแต่ทศวรรษ 1960 และ 1970 เมื่อวอชิงตันหนุนหลังระบอบเผด็จการทหารของไทย และใช้ประเทศไทยเป็นฐานทัพสำหรับปฏิบัติการทางทหารระหว่างสงครามเวียดนาม
สหรัฐฯ จะประณามหรือประนอมกับรัฐบาลทหาร ขึ้นอยู่กับผลประโยชน์ทางการเมืองของตน ข้ามชายแดนไทยไปที่ประเทศพม่าเพื่อนบ้าน สหรัฐฯ ยังคงคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่อระบอบเผด็จการทหารและวางท่าเป็นผู้ปกป้องสิทธิตามระบอบประชาธิปไตยของชาวพม่า สิ่งที่วอชิงตันคัดค้านจริง ๆ ไม่ใช่การละเมิดสิทธิประชาธิปไตยขั้นพื้นฐาน แต่ไม่พอใจต่อความสัมพันธ์แนบแน่นระหว่างรัฐบาลทหารพม่ากับจีนต่างหาก ทั้งนี้เพราะจีนเป็นคู่แข่งรายใหญ่ของสหรัฐฯ ในภูมิภาคนี้
การผลักดันรัฐบาลอภิสิทธิ์ที่ไม่ได้มาตามการเลือกตั้งขึ้นสู่อำนาจในประเทศไทย เป็นชนวนให้เกิดการประท้วงของมวลชนที่นำโดยแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการ (นปช.) ที่สนับสนุนทักษิณ ขบวนการ “เสื้อแดง” นี้มีแนวโน้มที่จะขยายกลายเป็นขบวนการสังคมที่กว้างขวางมากขึ้น ทั้งนี้เพราะกลุ่มเกษตรกร กลุ่มนักธุรกิจรายย่อยและแรงงานในเมืองเริ่มส่งเสียงแสดงความไม่พอใจจากปัญหาของตัวเองเช่นกัน นายกฯ อภิสิทธิ์ตอบโต้ด้วยการกดขี่ปราบปราม จนลงเอยด้วยการที่กองทัพเข้าสลายการชุมนุมอย่างนองเลือดในวันที่ 19 พฤษภาคม ซึ่งกองทหารติดอาวุธหนักยิงใส่ผู้ประท้วง มีประชาชนเสียชีวิตอย่างน้อย 91 คนจากการปะทะในเดือนเมษายนและพฤษภาคม
เช่นเดียวกับในเดือนกันยายน 2549 สหรัฐฯ ไม่ได้กล่าวประณามการกระทำของรัฐบาลอภิสิทธิ์หรือกองทัพไทยแม้แต่น้อย
No comments:
Post a Comment