Monday, May 9, 2011

เปิดมุมมองการเมืองของ "คำ ผกา" ขอเลือกพรรคที่สนับสนุนเสื้อแดง รบ.ในฝันต้องผ่าตัดการศึกษา-ชำระปวศ.

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1304928790&grpid=01&catid=&subcatid=

เปิดมุมมองการเมืองของ "คำ ผกา" ขอเลือกพรรคที่สนับสนุนเสื้อแดง รบ.ในฝันต้องผ่าตัดการศึกษา-ชำระปวศ.

วันที่ 09 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 เวลา 21:30:00 น.

Share210




รับชมข่าว VDO

ชมคลิป

ปลายสัปดาห์ที่แล้ว คำ ผกา หรือ คุณลักขณา ปันวิชัย นักเขียนและคอลัมนิสต์ชื่อดัง  แวะมาที่ห้องรับแขก

 

สนทนากับ"มติชนออนไลน์" เรื่อง ดูละครเรื่อง "ดอกส้มสีทอง" แล้วย้อนดู ชนชั้นนำไทย

 

ครั้งนี้ เราปรับโหมดมาสู่การเมือง การเลือกตั้ง ที่คาดว่า จะเกิดขึ้นในเร็ววัน

 

ระหว่าง พรรคประชาธิปัตย์ กับ พรรคเพื่อไทย  คุณคำ ผกา เลือกเพื่อไทย

 

 

ขอเลือกพรรคที่สนับสนุนเสื้อแดง พูดแบบตรงไปตรงมา และไม่สนใจนักการเมืองหรือตัวบุคคล แต่อยากให้ระบบกลับคืนมามากกว่า หากเลือกตั้งคราวนี้ไม่มีการแทรกแซงจากภายนอก ถึงมันจะดูพิกลพิการไปบ้าง แต่ขอให้มีการเลือกตั้งต่อเนื่องไปเรื่อยๆ โดยไม่มีเหตุการณ์อื่นๆ เช่น การรัฐประหาร ที่เข้ามาขัดจังหวะ อยากเห็นการเลือกตั้งอย่างนี้ไปอีก 20 ปี แล้วมันจะเกิดพัฒนาการของระบบ มีโครงสร้างทางการเมืองที่ดีขึ้น วันนี้นโยบายของแต่ละพรรคการเมืองไม่ได้เป็นเชิงนโยบาย แต่เป็นเมกะโปรเจกต์ ถ้าถามว่าคุณจะเอาอะไร ในเมื่อการเมืองมีการตัดตอนมาเรื่อยๆ มีการรัฐประหารทุกๆ สิบปี ไม่มีการพัฒนาที่ต่อเนื่อง ฉะนั้นตอนนี้บอกได้เลยว่าสนับสนุนคนเสื้อแดงที่ออกมาเรียกร้องประชาธิปไตย และก็เลือกพรรคเพื่อไทย ไม่มีความสุขที่พรรคประชาธิปัตย์ฉวยโอกาสขึ้นมาเป็นรัฐบาล นี่ก็เป็นจุดยืนส่วนตัว
 

หากพรรคเพื่อไทยได้เป็นรัฐบาล มีกลุ่มคนที่ไม่เอาทักษิณมาประท้วง

 

ก็ต้องดูว่ารัฐบาลจะมีวิธีจัดการกับม็อบอย่างไร หรือจะมีการฆ่าประชาชนหรือไม่ ก็ต้องดูกันต่อไป แต่ถ้าหากประชาธิปัตย์ได้เป็นรัฐบาลก็ไม่เป็นไร พรรคเพื่อไทยก็เป็นฝ่ายค้าน หรือถ้าประชาธิปัตย์ทำงานดี และอีกสี่ต่อมาได้รับเลือกเป็นรัฐบาลอีก ก็ไม่มีปัญหาอะไร


คาดหวังอะไรกับคณะปฏิรูปการเมืองและสมัชชาปฎิรูปของ คุณอานันท์ ปันยารชุน และ หมอประเวศ วะสี แค่ไหน

 

กรณีข้อเสนอ 5 ข้อของหมอประเวศ วะสี ที่ว่านำสังคมไทยไปสู่นิพพาน ก็ขอให้หมอประเวศไปนิพพานคนเดียว เคยถามคนไทยหรือยังว่าอยากนิพพานด้วยหรือเปล่า พวกเรายังอยากอยู่ในกิเลสตัณหา เพราะประชาธิปไตยเป็นเรื่องของการต่อรองผลประโยชน์ เป็นเรื่องความอยากมี อยากได้ อยากสุขสบาย อยากมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ชาวนาเขาก็อยากให้ลูกเป็นหมอ คงจะมีใครอยากเป็นชาวนาห้าหกรุ่นต่อๆ ไป และไม่เชื่อว่าจะมีองค์กรใดองค์กรหนึ่งสามารถปฏิรูปประเทศได้ เพราะการปฏิรูปต้องมาจากการเลือกตั้งนี่แหล่ะ ทำผ่านการต่อสู้เพื่อให้ได้ในสิ่งที่เราต้องการ และผ่านนักการเมืองที่เราเลือก

 

สองปีที่ผ่านมาของคุณอภิสิทธิ์ ผิดหวังอะไรมากที่สุด

 

 

ผิดหวังทุกเรื่อง เรื่องเล็กๆ น้อยๆ อย่างเช่น ซื้อน้ำมันไม่ได้ น้ำตาลหายไปจากตลาด น้ำมันแพง ไข่แพง เป็นเรื่องปากท้องธรรมดาๆ แล้วการพิจารณางบประมาณต่างๆ งบไปสู่กลาโหมมากขนาดไหน แต่ประชาชนยังอดอยาก ปัญหาภาคใต้ก็ไม่ดีขึ้น แล้วอย่าง กอ.รมน. ยังจำเป็นต้องมีอยู่หรือไม่ ให้งบไปเท่าไหร่ เราจำเป็นแค่ไหนที่จะมีหน่วยความมั่นคง คิดว่าใครเป็นศัตรูกับรัฐบาล ไม่เห็นวิสัยทัศน์คุณอภิสิทธิ์ในเชิงโครงสร้างเลย


รัฐบาลในฝันของคำ ผกา

 

สิ่งแรกคือต้องทำผ่าตัดการศึกษา รวมถึงแบบเรียนด้วย ให้ความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ใหม่ทั้งหมด ความรู้เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างชาติไทยกับโลก เราเป็นใครในโลกใบนี้ ชาติไทยกับประเทศเพื่อนบ้านต้องชำระความรู้ทั้งหมด และที่บอกว่าชาติไทยไม่เหมือนใครในโลก อันนี้ต้องแก้ไขใหม่ หรืออย่างที่มีการกล่าวว่าคนไทยไม่พร้อมจะมีเสรีภาพ นี่เป็นสิ่งที่คนไทยรับรู้จากการศึกษามานานแล้ว และก็เชื่ออย่างนั้นมาตลอด ซึ่งต้องมีการแก้ไขใหม่

 

 

ส่วนการชำระประวัติศาสตร์เป็นเรื่องสำคัญ อย่างที่อเมริกาเคยมีการกล่าวหาอินเดียนแดงอย่างสาหัส หรือญี่ปุ่นที่ไม่เคยยอมรับว่าไปทำอะไรจีนตอนสงครามโลกครั้งที่ 2 เดี๋ยวนี้ในแบบเรียนก็มีการปรับการชำระแล้ว ของไทยเองก็ต้องหาจุดยืนที่ใกล้เคียงความถูกต้องว่าไทยกับพม่าเคยรบกันจริงหรือไม่ ไทยกับเขมรเป็นศัตรูกันจริงหรือเปล่า ความสัมพันธ์ไทยกับเพื่อนบ้านเป็นอย่างไร ล้วนแล้วต้องทำความเข้าใจให้ถูกต้อง


ภาคประชาชนมีพลังมากน้อยแค่ไหน

 

เพียงพอแน่นอน เพราะไม่มีสังคมประชาธิปไตยไหนเริ่มต้นมาจากความเข้มแข็งของประชาชนร้อยเปอร์เซ็นต์   ภาคประชาชนต้อง ล้มลุกคลุกคลาน หรือค่อยๆ สั่งสมประสบการณ์ การซื้อเสียง ฆ่าหัวคะแนนมีอยู่ทุกสังคม ญี่ปุ่นก็มี พอเลือกตั้งซัก 20 ปี มันก็ค่อยๆ น้อยลง ใช่ว่าจู่ๆ มาบอกว่าประชาชนยังไม่พร้อม เมื่อยังไม่ให้โอกาส ไม่ให้เขาเรียนรู้ด้วยตนเอง เมื่อไหร่จะเข้มแข็ง ให้โอกาสกับการต่อสู้ทางการเมือง

No comments:

Post a Comment