***************************************
คำถาม
***************************************
========================================================
เรียน ท่าน พงศ์เทพ ท่ีนับถือ
คำถาม
***************************************
========================================================
เรียน ท่าน พงศ์เทพ ท่ีนับถือ
ท่าน พอจะมีข้อมูล การประมูล รัฐสภา ใหม่ ท่ีเกียกกาย ร ร โยธินบูรณะ
และอีกเรื่อง หนี้ กองทุนฟื้นฟู 1.,114 หมื่น หมื่น ล้าน บาท
ขอชอบพระคุณท่านมากครับ
========================================================
***************************************
คำตอบ
***************************************
เรียน คุณปรีชา ที่นับถือ
การก่อสร้างรัฐสภาแห่งใหม่มีการคัดบริษัทที่ผ่านการพิจารณา คุณสมบัติแล้ว มี 4 บริษัท คือ บริษัท อิตาเลียนไทย บริษัท ซินเท็ค คอนสตรัคชั่น บริษัท เพาเวอร์ไลน์ และบริษัทซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แต่ยังไม่ได้เปิดให้มีการประมูล
ส่วนหนี้กองทุนฟื้นฟูที่เป็นประเด็นขณะนี้ ต้นเหตุเกิดจากเมื่อปี 2540 ธนาคารแห่งประเทศไทยใช้มาตรการซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า (Swap) เพื่ออำพราง มิให้ คนทั่วไปทราบว่า ทุนสำรองเงินตราร่อยหรอลงไป จนถูกโจมตีค่าเงินบาทและเหลือทุนสำรองเงินตราประมาณ 2,800 ล้านเหรียญเท่านั้น รัฐบาลต้องลอยตัวค่าเงินบาท มีการอัดฉีดเงินเข้าไปช่วยเหลือสถบันการเงิน แล้วต่อมาสถาบันการเงินถูกควบคุม 58 แห่ง
ผู้ที่รับบทหนักในช่วงนั้นก็คือ กองทุนฟื้นฟูฯ ซึ่งเป็นองค์กรที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ต้องให้สภาพคล่องแก่สถาบันการเงินที่ประสบปัญหา รวมไปถึงการเข้าปิดสถาบันการเงินหลายแห่ง และการคืนเงินฝากให้กับผู้ฝากเงินไว้กับสถาบันการเงินเหล่านี้ ซึ่งท้ายสุด การช่วยเหลือดังกล่าวทำให้เกิดความเสียหายจำนวนมาก ประมาณ 1.4 ล้านล้านบาท
ช่วงแรก กองทุนฟื้นฟูอาศัยแบงก์ชาติเป็นผู้ช่วยหาเงินจำนวนดังกล่าวให้ แต่ต่อมา มีการออกพระราชกำหนด 2 ฉบับ เมื่อปี 2541 และ 2545 ให้กระทรวงการคลังแบกรับภาระออกพันธบัตรระยะยาวเพื่อช่วยกู้ยืมเงินดังกล่าวมาให้ โดยเขียนไว้อย่างชัดเจนว่า เมื่อปีใดที่ ธปท.มีกำไร ก็ให้นำกำไรดังกล่าวมาจ่ายคืนเงินต้น ลดหนี้ดังกล่าวลงมา โดยระหว่างทาง ในส่วนของดอกเบี้ยนั้น กระทรวงการคลังจะช่วยจ่ายไปให้ก่อน ซึ่งการกู้ยืมตาม พ.ร.ก. ปี 41 (ปัจจุบันมีพันธบัตรคงค้างอยู่ 5 แสนล้านบาท) ให้คลังจดบัญชีไว้ มาเรียกเก็บคืนจากทาง ธปท.ได้ ส่วนการกู้ยืมตาม พ.ร.ก. ปี 45 (ปัจจุบันมีพันธบัตรคงค้าง 6.8 แสนล้านบาท) ให้ดอกเบี้ยเป็นภาระของรัฐบาลที่ช่วยจ่าย
ช่วงแรก กองทุนฟื้นฟูอาศัยแบงก์ชาติเป็นผู้ช่วยหาเงินจำนวนดังกล่าวให้ แต่ต่อมา มีการออกพระราชกำหนด 2 ฉบับ เมื่อปี 2541 และ 2545 ให้กระทรวงการคลังแบกรับภาระออกพันธบัตรระยะยาวเพื่อช่วยกู้ยืมเงินดังกล่าวมาให้ โดยเขียนไว้อย่างชัดเจนว่า เมื่อปีใดที่ ธปท.มีกำไร ก็ให้นำกำไรดังกล่าวมาจ่ายคืนเงินต้น ลดหนี้ดังกล่าวลงมา โดยระหว่างทาง ในส่วนของดอกเบี้ยนั้น กระทรวงการคลังจะช่วยจ่ายไปให้ก่อน ซึ่งการกู้ยืมตาม พ.ร.ก. ปี 41 (ปัจจุบันมีพันธบัตรคงค้างอยู่ 5 แสนล้านบาท) ให้คลังจดบัญชีไว้ มาเรียกเก็บคืนจากทาง ธปท.ได้ ส่วนการกู้ยืมตาม พ.ร.ก. ปี 45 (ปัจจุบันมีพันธบัตรคงค้าง 6.8 แสนล้านบาท) ให้ดอกเบี้ยเป็นภาระของรัฐบาลที่ช่วยจ่าย
ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา แบงก์ชาติส่งเงินมาช่วยปลดหนี้ไป ได้เพียง 1 แสนล้านบาทเท่านั้น น้อยกว่าที่เคยคาดกันไว้มาก โดยในหลาย ๆ ปี แบงก์ชาติไม่มีกำไรมาให้ และล่าสุดยังขาดทุนสะสมอีกถึง 4 แสนกว่าล้านบาท บนบัญชีของตนเอง ด้วยเหตุนี้ แม้จะผ่านมาหลายปีแล้วก็ตาม ยอดหนี้กองทุนฟื้นฟูก็ยังอยู่ที่ประมาณ 1.18 ล้านล้านบาท ไม่ลดลง ดอกเบี้ยก็เพิ่มพูนทุกปี โดยกระทรวงการคลังต้องรับภาระจ่ายดอกเบี้ยให้ประมาณปีละ 5 หมื่นล้านบาท
ถ้ายังให้รัฐบาลจ่ายดอกเบี้ยต่อไปเช่นเดิม ธนาคารแห่งประเทศไทยก็ไม่มีความกดดันหรือความขวนขวายที่จะลดต้นเงินของหนี้นี้ และยังทำให้รัฐบาลไม่สามารถกู้เงินเพื่อมาวางระบบจัดการน้ำซึ่งต้องใช้เงินหลายแสนล้านบาทได้ครับ
นับถือ
พงศ์เทพ
--
http://illinoisredshirts.blogspot.com/
No comments:
Post a Comment